• หน้าหลัก
  • น่ารู้เรื่องสร้างบ้าน
  • รู้ก่อนสร้างบ้าน
 

การสร้างบ้าน ติดคลอง ติดแม่น้ำ ติดทะเล

การสร้างบ้านติด แม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล ตามกฎหมาย การสร้างบ้าน นั้นมีกฎข้อห้ามการสร้างบ้านไว้ เพื่อปกป้อง หรือป้องกัน ความสูญเสีย และเสียหายต่อธรรมชาติ ซึ่งกฎหมายได้ระบุห้ามก่อสร้างไว้ ดังนี้

  1. การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่แคบกว่า 10 เมตร ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย 3 เมตร
  2. การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่กว้างกว่า 10 เมตร ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย 6 เมตร
  3. การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่ใหญ่ๆ เช่น ทะเลสาบ หรือทะเล นั้น ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย 12 เมตร

แต่ในบางกรณียังสามารถก่อสร้างติดกับแหล่งน้ำได้ แต่ก็ต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อน เช่น สะพาน เขื่อน รั้ว ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ เป็นต้น

การดู ฮวงจุ้ย ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ

การสร้างบ้านในปัจจุบัน ผู้ปลูกบ้านบางรายให้ความสำคัญกับการดู ฮวงจุ้ย หรือทิศทางของตัวบ้านก่อนสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องต่างๆ หรือการหันหน้าของตัวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจ้างซินแสที่เชี่ยวชาญหรือมีชื่อเสียงในการดู ฮวงจุ้ย แต่ซึ่งก็มีบางรายก็สามารถดู ฮวงจุ้ย ได้เองแบบคร่าวๆ หรือดูแบบชาวบ้านๆ พอสรุปได้ง่ายๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ที่ดินไม่ควรอยู่ในทิศที่มีถนนวิ่งเข้าหา
  2. ที่ดินไม่ควรเป็นรูปถุง หรือ หน้ากว้างหลังแคบ
  3. หน้าที่ดินอิงน้ำและหลังพิงเขา ยกเว้นแต่ถ้าเป็นสายน้ำพุ่งเข้าหาที่ดินจะไม่ดี
  4. ประตูหน้าต้องไม่ตรงกับประตูหลังโดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นจะไม่ดี
  5. ห้ามจอดรถหรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยงใต้ห้องนอนใหญ่
  6. ห้ามมีแนวคานขวางบนเตียงนอน

ดังนั้นแล้วหากต้องพิจารณาอย่างละเอียดมากกว่านี้คงต้องจ้างซินแสมาดูว่า เข้ากับลักษณะเจ้าของ วันเดือนปีเกิดเจ้าของ หรือดวงของเจ้าของเป็นต้น

ฤกษ์เสาเอกเขานับกันตรงไหน

ฤกษ์ลงเสาเอกสมัยโบราณคือเวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่ ขุดเตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ตั้งตรงและใช้ไม้ค้ำยันค้ำไว้ เอาดินกลบหลุมใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกินชั่วยาม แต่ในปัจจุบันการสร้างบ้านได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ซึ่งปัจจุบันต้องมีการตอกเสาเข็ม ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พ้นดินได้ ขั้นตอนการสร้างบ้านมาก ขึ้น จึงไม่รู้ว่าต้องนับขั้นตอนไหนที่เรียกว่าขึ้นเสาเอก เพื่อจะเอาเวลาที่ดีที่สุดที่จะหามาได้เพื่อทำพิธี ดังนั้น ฤกษ์ ลงเสาเอก สรุปได้ดังนี้

  1. ยึดถือเวลาตอกหรือเจาะ เสาเข็มต้นแรก หรือเวลาที่ตอกหรือเจาะ เสาเข็มที่กำหนดขึ้นเองว่าเป็นเสาเอก เรียกว่า ฤกษ์เข็มเอก
  2. ยึดเวลาที่คอนกรีตฐานราก โดยจะทำฐานรากพร้อมตอม่อ ต้นที่ถูกกำหนดขึ้นเอง ซึ่งจะเรียกว่า ตอม่อเอก หรือ เสาสั้นเอก

แหล่งที่มา: หนังสือร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง ของ อาจารย์ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน

บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของคนเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มชีวิตใหม่ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป ดังนั้นการปลูกสร้างบ้าน ที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ จึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดี และเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ

ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือกฎหมายผังเมืองบ้าน หรืออาคารที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาต แบบแปลน เสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้ โดยยื่นคำร้องได้ที้สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขต หรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ และสำนักงานสุขาภิบาล แล้วแต่กรณี
บริเวณนอกเขตควบคุม บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้างไม่ต้องขออนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย


การแจ้งการปลูกสร้างบ้าน และผู้มีหน้าที่รับแจ้ง
เมื่อปลูกสร้างบ้าน หรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือ นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท


หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน

  • หนังสือหรือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมือง)
  • สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้งกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำ บัตรประจำตัวของผู้รับมอบ และหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
  • หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี)
  • ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
  • เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง

วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อ ไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยุ่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้านซึ่งเห็น ได้ชัดแจ้ง

การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน

เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดิน นั้นอีก หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จ พร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หมายเหตุ : การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

แหล่งที่มา กระทรวงมหาดไทย