ต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย
![](/uploads/image_1629195228_80dd01c974dbf637a4e96eb3fe7eca33.png)
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ การดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 พร้อมยื่นแบบแปลน ชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ (มาตรา 39 ทวิ) เรื่องสำคัญเมื่อมีต่อเติมบ้านสรุปได้ดังนี้
- มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน1หรือ2ชั้น หรือมากกว่านั้น จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน
- การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
- การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
- การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
- การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก
- มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออก แบบรวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้นหลังคาเสาจะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย
- มีระยะร่นและการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย มีดังนี้
- ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 ม.
- เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 ม. ส่วนที่ว่างด้านหลังและด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 ม.
- มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70%ของที่ดิน ซึ่งจะนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด
- บ้านที่มีจำนวนชั้น1ชั้น หรือมีความสูงไม่เกิน 9 ม. ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด(หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง)ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 ม. แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 ซม.
- มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งระหว่างต่อเติมจะเสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น ดังนั้นเจ้าของบ้านได้รับการยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง
- กฎหมายต่อเติมบ้านที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร และไม่ต้องขออนุญาต ดังนี้
- การเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
- การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของบ้านที่ไม่ถือเป็นโครงสร้างและเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน10% เช่น ผนัง พื้น
- การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร โดยมีขนาดและรูปทรงที่เพิ่มน้ำหนักไม่เกิน 10% เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช่การลดหรือเพิ่มเสา หรือคาน เช่น การเพิ่มพื้นเฉลียงชั้นล่าง
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา โดยมีขนาดมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช้การลดหรือเพิ่มเสา คาน
- การดำเนินการต่อเติมบ้านโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดถือเป็นความผิดที่เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดังนี้
- การต่อเติมบ้านในเรื่องที่เป็นข้อบังคับแต่ไม่มีการขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- หากเจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และสืบพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูล : สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
สอบถามเรื่องสร้างบ้าน 02-0460300 - 3
ID Line : @conventure
Link : https://www.conventure.co.th/contact