Conventure  รับสร้างบ้านสวย คุณภาพคุ้มค่า ราคายุติธรรม

22 OCT
สร้าง และต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน

เมื่อย้ายเข้ามาอยู่บ้านได้ระยะหนึ่ง หลาย ๆ คนอาจต้องการหรือมีความจำเป็นที่จะต้องต่อเติมบ้าน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบบ้านใกล้เรือนเคียง ไม่ว่าจะตอก เจาะ เคาะ ขุดย่อมสร้างความรำคาญต่อบ้านที่อยู่ติดกัน นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาฝุ่นและเศษอิฐเศษปูนจากการก่อสร้าง แล้วเราจะมีวิธีสร้าง และต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน คนอยากต่อเติมบ้านต้องฟังทางนี้

  1. ศึกษาข้อกฎหมาย

    การต่อเติมบ้านนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ สร้างห้องเพิ่มเติม ต่อเติมหลังคาจอดรถหน้าบ้าน ขยายพื้นที่ครัวหลังบ้าน เป็นต้น แต่ทราบหรือไม่ว่าการต่อเติมบ้านในแต่ละครั้ง ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำได้เลยทันที แต่เจ้าของบ้านจะต้องศึกษาหลักการต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมายก่อน โดยเฉพาะ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการก่อสร้างและดัดแปลงอาคาร รวมถึงเทศบัญญัติและกฎระเบียบภายในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดสิทธิของเพื่อบ้านและป้องกันไม่ให้เพื่อนบ้านสามารถฟ้องร้องเอาผิดต่อเจ้าของบ้านที่ต่อเติมได้

  2. ขอบเขตเป็นเรื่องสำคัญ

    ของใคร ใครก็หวง ดังนั้น ขอบเขตและกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านควรรู้และทำความเข้าใจ หลาย ๆ บ้านผิดใจกันก็เพราะเพื่อนบ้านที่มักสร้างสิ่งปลูกสร้างยื่นเข้าไปในที่ดินหรือฝังฐานรากยื่นล้ำเข้าไปใต้ดินบริเวณบ้านติดกัน ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นทางกฎหมาย เจ้าของบ้านจึงควรเคารพของเขตของเพื่อนบ้านและไม่รุกล้ำแดนแห่งกรรมสิทธิ์นี้

  3. ระวังอย่าบังวิว

    สำหรับบ้านที่อยู่ติดพื้นที่ที่มีวิวธรรมชาติอย่างทะเล ภูเขา หรือแม้กระทั่งทะเลสาบในหมู่บ้าน การต่อเติมบ้านจนบังวิวของบ้านใกล้เรียนเคืองอาจทำให้เพื่อนบ้านฟ้องร้องให้รื้อถอนส่วนต่อเติมได้ ดังนั้น ก่อนต่อเติม เจ้าของบ้านควรพิจารณาให้รอบคอบว่าส่วนที่กำลังจะสร้างหรือต่อเติมจะไม่บดบังทัศนียภาพของเพื่อนบ้าน รวมถึงบังแสง บังแดดของเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งได้เช่นกัน 

  4. รั้วกั้นเขตบ้าน

    ปัญหากรรมสิทธิ์ในรั้วกำแพง รั้วต้นไม้เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้ง เพราะมักจะคลุมเครือว่าใครที่เป็นเจ้าของกันแน่หรือควรแบ่งเขตกันอย่างไรจึงจะเหมาะสม อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายจะถือว่าทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าของรั้วที่กั้นระหว่างบ้านร่วมกัน และจะต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมรั้วร่วมกัน ไม่สามารถรื้อถอนรั้วออกหรือดัดแปลงรั้วโดยพลการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายได้

  5. ปากเป็นเอกเลขเป็นโท

เมื่อศึกษาข้อกฎหมายเรียบร้อยแล้ว นี่คือขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด เจ้าของบ้านควรทำการเจรจาและแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบถึงโครงการต่อเติมบ้าน โดยอาจจะต้องบอกรายละเอียดคร่าว ๆ ให้เพื่อนบ้านทราบ เช่น ระยะเวลา ผลกระทบ เสียงรบกวน ฯลฯ เพื่อให้เพื่อนบ้านได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า โดยอาจมีของฝากติดมือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปฝากเพื่อนบ้านเพื่อแทนคำขอบคุณ ผูกสัมพันธ์ และลดความขัดแย้ง

เป็นเรื่องธรรมดาที่คนที่อยู่ใกล้กันจะมีเรื่องกระทบกระทั่งจิตใจกันบ้าง แต่อย่าลืมว่าการอาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน ควรนึกถึงใจเขาใจเรา ถ้อยทีถ้อยอาศัย เพื่อสังคมที่น่าอยู่ อย่าให้ความสนิทสนมทำให้ความเกรงอกเกรงใจที่เคยมีต่อบ้านใกล้เรือนเคียงลดน้อยลงจนกลายเป็นปัญหามองหน้ากันไม่ติดจนเข้าตำราที่โบราณว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก”

Conventure บริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำ พร้อมดูแลคุณตั้งแต่ขั้นตอนการให้คำปรึกษาไปจนถึงการขออนุญาตก่อสร้างบ้านอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีทีมงานสถาปนิก วิศวกร ที่ทำหน้าที่ในการออกแบบบ้านและควบคุมการก่อสร้าง พร้อมด้วยทีมงานก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง จึงทำให้การทำงานมีมาตรฐาน พร้อมส่งมอบบ้านสวยพร้อมอยู่ให้กับคุณ ให้คุณได้บ้านสวย แข็งแรง คุ้มค่าในงบประมาณที่พึงพอใจ พร้อมรับประกันโครงสร้างอีกด้วย

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Tel: 02 046 0300-3  ต่อ 11

Line ID: @conventure (มี @ นำหน้า)

Link: https://www.conventure.co.th/contact